สถาปนิกกับการออกแบบ Interior การสร้างสรรค์พื้นที่ที่ตอบโจทย์ทุกมิติ

ถ้าพูดถึงการออกแบบ ตกแต่งภายในแล้วละก็ หลายคนคงจะต้องนึกถึงการเลือกเฟอร์นิเจอร์หรือการจัดห้องให้มีดีไซน์ที่โดดเด่น ซึ่งน้อยคนจะรู้ว่าจริงๆ แล้วการออกแบบ Interior มีความสำคัญมากกว่านี้! เพราะต้องผสมผสานระหว่างศาสตร์และศิลป์สร้างพื้นที่ที่ตอบโจทย์ทุกฟังก์ชันพร้อมความสวยงาม นอกจากนี้บทบาทของสถาปนิกที่เกี่ยวข้องกับ Interior คือต้องรู้ใจลูกค้าและนำเสนอแนวคิดที่สร้างสรรค์ ทำให้พื้นที่ทุกตารางเมตรมีความหมายและใช้ประโยชน์ได้สูงสุด
Interior คืออะไร?
“Interior Design” หรือ การออกแบบตกแต่งภายใน เป็นกระบวนการวางแผนและสร้างสรรค์พื้นที่ภายในอาคารให้ตอบโจทย์ทั้งการใช้งานและความสวยงาม อีกทั้งยังเน้นผสมผสานระหว่างฟังก์ชันการใช้งานให้เหมาะสมกับความสวยงามที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว การออกแบบ Interior นี้ในบริบทของสถาปนิกจะครอบคลุมไปถึงการจัดวางโครงสร้างภายใน การเลือกสรรวัสดุที่เหมาะสมตรงตามความต้องการของลูกค้า และเน้นสร้างบรรยากาศผ่านการใช้แสงและสีอย่างสมดุล
องค์ประกอบสำคัญของการออกแบบ Interior
บริบทของสถาปนิกกับการออกแบบ Interior ที่มีหลายด้านต้องสร้างสรรค์ซึ่งจะต้องคำนึงถึงองค์ประกอบหลักที่สำคัญเข้าด้วยกันดังนี้
1. การวางแผนพื้นที่ (Space Planning)
องค์ประกอบแรกของการออกแบบ Interior จะต้องจัดสรรพื้นที่ให้ใช้งานได้อย่างคุ้มค่าและเหมาะสมเกิดประโยชน์สูงสุด รวมถึงจัดระเบียบฟังก์ชันการใช้งานให้เหมาะกับความต้องการของผู้ใช้
2. การเลือกวัสดุ (Material Selection)
เลือกใช้วัสดุที่จะใช้ตกแต่งภายในเหมาะสมกับการใช้งานพร้อมความสวยงาม โดยยึดหลักความทนทานของวัสดุ งบประมาณ และสไตล์ที่ต้องการ เช่น เลือกใช้วัสดุเป็นไม้ธรรมชาติสร้างความรู้สึกอบอุ่น หรือใช้กระจกเงาเข้ามาช่วยเพิ่มมิติให้พื้นที่แถมดูกว้างมากขึ้นได้ด้วย
3. การออกแบบแสง (Lighting Design)
สถาปนิกต้องจัดการเรื่องแสงที่จะเข้ามาช่วยสร้างบรรยากาศและเพิ่มมิติให้กับพื้นที่ ยิ่งเป็นแสงธรรมชาติจะยิ่งช่วยสร้างความอบอุ่นอีกทั้งยังประหยัดพลังงาน ซึ่งในขณะที่แสงจากหลอดไฟนีออนหรือ warm white จะสร้างบรรยากาศที่แตกต่างออกไป
4. การออกแบบสี (Color Design)
อีกหนึ่งองค์ประกอบสำคัญที่ส่งผลต่อบรรยากาศและอารมณ์ภายในพื้นที่นอกจากเรื่องแสงแล้ว ก็คือการเลือกใช้สีในการออกแบบ ตกแต่งภายในซึ่งต้องนึกถึงความเหมาะสมในด้านการใช้งาน ทั้งการใช้สีโทนเย็นช่วยสร้างความสงบ หรือใช้สีโทนร้อนช่วยเพิ่มพลังงานให้มี Energy มากขึ้นและให้ความรู้สึกอบอุ่นได้ด้วย
5. การเลือกเฟอร์นิเจอร์ (Furniture Selection)
นอกจากจะต้องเลือกเฟอร์นิเจอร์ให้เหมาะสมกับการใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพแล้วนั้น ก็ยังต้องคำนึงถึงการนำเฟอร์นิเจอร์มาตกแต่งภายในเพื่อเสริมความสวยงามและสไตล์เป็นเอกลักษณ์ได้อย่างเหมาะสมกับขนาดของพื้นที่นั้นๆ อีกด้วย
Interior Design VS Interior Decoration
หลายคนคงสงสัยว่าทั้ง Interior Design และ Interior Decoration มีความแตกต่างกันไหม ซึ่งถ้ามองในด้านบริบทการทำงานและวัตถุประสงค์ของ Interior Design ที่เน้นการวางแผนและออกแบบ Interior ในพื้นที่ที่ตอบโจทย์การใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ และต้องดูแลโครงสร้าง วัสดุ และองค์ประกอบภายในที่มีผลต่อการใช้งานจริง เช่น ต้องออกแบบห้องครัวให้เหมาะกับการปรุงอาหารให้ได้มากที่สุด
โดยในขณะที่ Interior Decoration จะเน้นไปที่ด้านความสวยงามผ่านการเลือกใช้สี เฟอร์นิเจอร์ และของตกแต่งภายในรูปแบบต่างๆ เช่น การเลือกดีไซน์ที่โดดเด่นของโซฟาหรือผ้าม่านเพื่อเพิ่มลูกเล่นและเสน่ห์ให้น่าสนใจกับห้องนั้น
ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับ Interior
1. Interior Design เป็นเรื่องของการตกแต่งเท่านั้น
ในความเป็นจริงแล้ว Interior Design มีกระบวนการออกแบบที่ซับซ้อน ทั้งการวางแผนพื้นที่ การเลือกวัสดุ การจัดแสง และการออกแบบ ตกแต่งภายในให้ใช้ฟังก์ชันต่างๆ ได้อย่างเหมาะสมตรงใจลูกค้า ซึ่งการตกแต่งก็ต้องดูแลเช่นกันแต่ก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งของกระบวนการทั้งหมดเท่านั้น อย่างการออกแบบห้องนั่งเล่นที่ไม่ใช่แค่ต้องเลือกโซฟาที่ดูดี แต่ต้องดูตำแหน่งการวางเพื่อให้ใช้งานได้อย่างสะดวกสบาย
2. ใครๆ ก็สามารถออกแบบ Interior ได้
ถ้าพูดถึงการออกแบบ Interior อย่างมืออาชีพที่ต้องอาศัยความรู้ในด้านโครงสร้าง วัสดุ และหลักการออกแบบขั้นพื้นฐานไปจนถึงระดับสูง เช่น ดูระยะห่างระหว่างเฟอร์นิเจอร์เพื่อให้มีพื้นที่เพียงพอสำหรับการเดิน หรือวิธีการเลือกวัสดุที่ปลอดภัยและเหมาะสมกับการใช้งานในแต่ละห้อง
3. Interior Design เป็นเรื่องของคนรวยเท่านั้น
จริง ๆ แล้ว การออกแบบ Interior สามารถปรับเปลี่ยนงบประมาณให้เหมาะสมกับความต้องการที่หลากหลายได้ ซึ่งจะเน้นการใช้พื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด เช่น หากต้องการปรับปรุงห้องนอนด้วยงบประมาณจำกัดก็สามารถใช้แค่การเปลี่ยนผ้าม่านให้ดูโปร่งกว่าเดิมได้โดยไม่ต้องใช้เงินมากในการจัดสรรพื้นที่ใหม่ทั้งหมด
4. สไตล์โมเดิร์นคือสไตล์ที่ดีที่สุด
บางครั้งสไตล์โมเดิร์นก็ไม่ได้เหมาะกับการใช้งานของทุกคนเสมอไป ซึ่งจริงๆ แล้วสไตล์ที่ดีที่สุดคือสไตล์ที่เหมาะสมกับความต้องการ การใช้งานและรสนิยมของเจ้าของ เช่น บ้านเน้นเพื่อครอบครัวการออกแบบ Interior ก็จะเหมาะกับสไตล์ที่ใช้งานง่ายและปลอดภัย ฟังก์ชันครบวงจร
5. การออกแบบ Interior ต้องใช้เวลานานและสิ้นเปลือง
จะไม่สิ้นเปลืองเวลาเลยถ้ามีการวางแผนและการทำงานร่วมกับมืออาชีพอย่างรัดกุม เพราะจะยิ่งช่วยลดเวลาที่ใช้ในการออกแบบ Interior และควบคุมงบประมาณได้จากการลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นออกไป เช่น เลือกใช้วัสดุที่เหมาะสมตั้งแต่แรกจะช่วยลดปัญหาการซ่อมแซมในอนาคต ทำให้ประหยัดทั้งเวลาและเงิน
บทบาทของสถาปนิกในการออกแบบ Interior
1. การตีความความต้องการของลูกค้า
อันดับแรกสถาปนิกจะเริ่มพูดคุยกับลูกค้าเพื่อทำความเข้าใจความต้องการและความคาดหวังของการออกแบบ Interior ในแต่ละครั้ง ซึ่งไม่เพียงแค่รับฟังแต่ยังต้องแนะนำในเรื่องที่เหมาะสมและตอบโจทย์กับลูกค้ามากที่สุด เช่น การแนะนำแนวทางในการปรับพื้นที่เพื่อให้เหมาะสมกับรูปแบบการใช้ชีวิตหรือวัตถุประสงค์เฉพาะของลูกค้า
2. การวางแผนพื้นที่และการจัดสรร Function
สถาปนิกจะกำหนดการใช้พื้นที่ทั้งหมดให้มีประสิทธิภาพ เช่น ออกแบบห้องนั่งเล่นที่สามารถปรับเปลี่ยนการใช้งานให้กลายเป็นพื้นที่ทำงานได้เช่นกัน หรือแม้แต่การจัดวางเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ ให้เหมาะสมกับพื้นที่ เพื่อช่วยสร้างความสะดวกสบายในการเคลื่อนไหวของทุกคนได้เป็นอย่างดี
3. การเลือกวัสดุและสีที่เหมาะสม
สถาปนิกจะต้องช่วยเลือกวัสดุที่เหมาะสมทั้งในเรื่องของความทนทานในระยะยาว ความสวยงาม และการใช้งาน เช่น เลือกใช้วัสดุปูพื้นแบบกันลื่นสำหรับบ้านที่มีเด็ก ไปจนถึงการเลือกสีชวนให้มีอารมณ์และความรู้สึกที่สงบหรือสนุกในพื้นที่พักผ่อน
4. การออกแบบแสงและบรรยากาศ
นอกจากข้อดีของแสงธรรมชาติที่นำมาเป็นส่วนประกอบหลักของการออกแบบ Interior ที่ช่วยให้พื้นที่ดูโปร่งโล่งสบายตาแล้วนั้น ก็ยังสามารถสร้างบรรยากาศที่เหมาะสมในรูปแบบอื่นได้อีกในแต่ละห้องที่มีการใช้งานที่แตกต่างกัน เช่น การใช้ไฟซ่อนในห้องนอนเพื่อเพิ่มมิติ หรือในพื้นที่ทำงานที่เลือกวางโคมไฟในตำแหน่งที่เหมาะสมให้มีแสงที่เพียงพอ
5. การเลือกเฟอร์นิเจอร์และองค์ประกอบตกแต่ง
สถาปนิกต้องคัดสรรเฟอร์นิเจอร์ที่เหมาะสมทั้งด้านการดีไซน์ควบคู่ไปกับการใช้งาน เช่น การเลือกโต๊ะที่เหมาะกับการทำงานและเก้าอี้ที่ช่วยรองรับสรีระในขณะนั่งทำงานเป็นเวลานาน หรือการเลือกของตกแต่งภายในห้องที่ช่วยเพิ่มความโดดเด่นให้กับพื้นที่นั้นๆ
6. การประสานงานกับผู้รับเหมา
อีกหนึ่งบริบทที่สถาปนิกต้องรับผิดชอบคือตัวกลางในการสื่อสารระหว่างลูกค้าและทีมงานออกแบบ เช่น การอธิบายแผนการออกแบบให้ผู้รับเหมามีความเข้าใจตรงกัน หรือตรวจสอบความคืบหน้าของงานเพื่อให้เป็นไปตามกำหนดการและแบบแผนที่วางไว้
7. การควบคุมงบประมาณและระยะเวลา
บริบทสุดท้ายที่สำคัญมากเช่นกันของสถาปนิกเป็นการช่วยวางแผนงบประมาณให้เหมาะสมกับความต้องการ และจัดสรรเวลาในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การจัดลำดับความสำคัญของเนื้องานเพื่อให้การดำเนินงานเสร็จสิ้นตามเป้าหมาย
การสร้างสรรค์พื้นที่ที่ตอบโจทย์ทุกมิติ
1. การออกแบบที่คำนึงถึงฟังก์ชัน
ทุกพื้นที่ของการออกแบบ Interior ที่ดีต้องตอบโจทย์ทั้งการใช้งานและความสะดวกสบายได้แบบครบวงจร เช่น การจัดวางเฟอร์นิเจอร์ทุกประเภทที่เหมาะสมกับการใช้งานในชีวิตประจำวัน และจัดสรรพื้นที่ที่รองรับการปรับเปลี่ยนให้สามารถจัดกิจกรรมได้หลากหลาย
2. การสร้างบรรยากาศที่เหมาะสม
การออกแบบ Interior ในด้านแสงและสีจะช่วยสร้างบรรยากาศที่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งานได้อย่างเหมาะสม เช่น จัดแสงอุ่นในพื้นที่ที่ต้องการเพิ่มความผ่อนคลายอย่างห้องนอน หรือจัดแสงที่มีสีสดใสช่วยในการสร้างพลังงานในห้องทำงานได้ตลอดเวลา
3. การใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
สถาปนิกส่วนใหญ่เริ่มหันมาให้ความสำคัญในการเลือกใช้วัสดุที่ยั่งยืนต่อสิ่งแวดล้อมและปลอดภัยต่อสุขภาพของผู้ใช้งาน เช่น การใช้สีที่ปราศจากสารเคมีอันตราย เพื่อช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและผู้อยู่อาศัยในระยะยาว
4. Universal Design
Universal Design เป็นการออกแบบ Interior ที่สามารถใช้งานได้กับทุกเพศทุกวัย หรือออกแบบเพื่อผู้ที่มีข้อจำกัดทางกายภาพ เช่น การติดตั้งราวจับในห้องน้ำสำหรับผู้สูงอายุ หรือการออกแบบทางเดินที่เหมาะสำหรับผู้ใช้รถเข็น
สรุป
จากข้อมูลทั้งหมดนี้จะเห็นได้ว่าการออกแบบ Interior ไม่ได้เป็นเพียงแค่กระบวนการเพิ่มความสวยงามให้พื้นที่เดิมๆ แต่ยังเป็นการเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ส่งผลต่อความเหมาะสมของผู้ใช้งานแต่ละคน สถาปนิกจึงกลายเป็นบุคคลสำคัญที่จะช่วยสร้างพื้นที่ที่ตอบโจทย์ในด้านการใช้งานและความรู้สึก ซึ่งถ้าอยากให้ความสำคัญกับการออกแบบ ตกแต่งภายในก็ต้องเลือกสถาปนิกและทีมงานที่เหมาะสมกับการเนรมิตพื้นที่เพื่อคุณคนเดียว
FAQ
ค่าใช้จ่ายในการออกแบบ Interior คิดอย่างไร?
การคิดค่าใช้จ่ายในการออกแบบ ตกแต่งภายในนั้นก็จะขึ้นอยู่กับขนาดพื้นที่ ความซับซ้อน และวัสดุที่ใช้ ซึ่งอาจจะคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของงบประมาณทั้งหมด หรือคิดแบบเหมาจ่ายแล้วแต่ข้อตกลงซึ่งกันและกัน
ขั้นตอนการออกแบบ Interior โดยทั่วไปเป็นอย่างไร?
จะเริ่มจากการพูดคุยทำความเข้าใจสิ่งที่ต้องการ หลังจากนั้นก็การวางแผนและออกแบบ และเข้าสู่ขั้นตอนการดำเนินการก่อสร้าง ไปจนถึงขนย้ายเฟอร์นิเจอร์และองค์ประกอบตกแต่งภายในตามที่ได้วางแผนไว้ หลังจากนั้นจึงตรวจสอบความถูกต้องและส่งงานที่เสร็จสมบูรณ์
ควรเลือกสถาปนิกออกแบบ Interior อย่างไร?
ขั้นแรกต้องเลือกจากผลงานที่ผ่านมาของสถาปนิกออกแบบ Interior หลังจากนั้นดูความละเอียดงานที่แสดงถึงความเชี่ยวชาญ และลักษณะการสื่อสารที่เข้ากับคุณ นอกจากนี้ยังสามารถเช็กรีวิวหรือการแนะนำจากลูกค้าก่อนหน้าเพื่อเป็นตัวช่วยในการตัดสินใจ
มีโปรแกรมหรือเครื่องมืออะไรที่ช่วยในการออกแบบ Interior ได้บ้าง?
โปรแกรมที่ช่วยในการออกแบบ Interior ที่ใช้กับหลักก็อย่างเช่น AutoCAD, SketchUp, หรือโปรแกรมออกแบบ 3D อื่นๆ ที่จะช่วยให้เห็นภาพเสมือนจริงของโครงการก่อนเริ่มลงมือ
แนวโน้มและเทรนด์การออกแบบ Interior ในอนาคตเป็นอย่างไร?
ปัจจุบันวงการออกแบบจะหันมาเน้นความยั่งยืนและการใช้งานได้อย่างหลากหลายมากขึ้น เช่น Smart Home และการใช้วัสดุรีไซเคิลในการตกแต่งภายใน